ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ฤกษ์ ทั้ง 9

ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ฤกษ์
ฤกษ์ หมายถึง คราวหรือเวลา ความปลอดภัยหรือความสำเร็จสมประสงค์ อำนวยความเป็นศิริมงคลแก่ผู้ประกอบการนั้น ๆ
ฤกษ์ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ฤกษ์บนและฤกษ์ล่าง

ฤกษ์บน
 เป็นชัยมงคลเบื้องสูง โดยถือตำแหน่งของพระจันทร์และดาวพระเคราะห์ต่าง ๆ เป็นหลัก คือ กำหนดโดยจันทร์ พระจันทร์ต้องดีไม่เป็นอริ มรณะ และวินาศแก่ผู้ประกอบการ พระจันทร์โคจรให้คุณเช่นจันทร์ครุสุริยา ทางโหราศาสตร์ใด้กำหนดฤกษ์ไว้ 9 ฤกษ์ ได้แก่
 ทลิทโทฤกษ์มหัทธโณฤกษ์โจโรฤกษ์
 ภูมิปาโลฤกษ์เทศาตรีฤกษ์เทวีฤกษ์
 เพชฌฆาตฤกษ์ราชาฤกษ์สมโณฤกษ์
 * ความหมายหรือวิธีการใช้แต่ละฤกษ์ดูด้านล่างนะครับ เพราะแต่ละฤกษ์มีการนำไปใช้เฉพาะเรื่อง
   เช่น การขอแต่งงาน หมั้นสาว ทวงหนี้ กู้ยืม ร้องทุกข์ ฯลฯ ให้ใช้ ทลิทโทฤกษ์

ฤกษ์ล่าง
 ซึ่งเหมาะเป็นชัยมงคลทางเบื้องใต้ฟ้า หรือเบื้องต่ำบนพื้นดิน โดยมนุษย์เป็นผู้กำหนดขึ้น โดยให้วันทั้ง 7 ประกอบด้วยดิถี ขึ้น แรม และเดือน ปี เป็นหลักในการคำนวณนับ เช่น วันธงชัย วันอธิบดี วันอุบาทว์ และวันโลกาวินาศ และมีดิถี คือ ขึ้น แรม ดิถีธงชัย ดิถีพิฆาต อีกทั้งวันจม วันฟู วันลอย กทิงวัน อัคนิโรธ ทักทิน ยมขันธ์ จัดเป็นฤกษ์ย่อยต่าง ๆ รวมเรียกว่า "ฤกษ์ล่าง" หรือ (ภูมิดล)


ความหมายและการนำฤกษ์ทั้ง 9 ไปใช้
 1. ทลิทโทฤกษ์
ได้แก่ฤกษ์ที่ 1 , 10 และ 19 เรียกว่า ทลิทโทฤกษ์ แปลว่า ผู้มักน้อย ผู้เข็ญใจ ผู้ขอ ผู้ต้องเหน็ดเหนื่อย ผู้อดทน ผู้ที่ต้องรับผิดชอบสูง

ฤกษ์นี้เป็นฤกษ์ของ
 "ชูชก" มีพระอาทิตย์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น "บูรณะฤกษ์" คือฤกษ์ที่เต็มโดยสมบูรณ์ คือฤกษ์ที่ไม่ขาดแยกแตกบาทฤกษ์ไปอยู่คนละราศี และเรียกว่า จัตตุรฤกษ์ หรือ ขันธฤกษ์

เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ 
การขอสิ่งต่างๆ เพราะถือว่าเป็นฤกษ์ของชูชก จะทำการขอสิ่งใดก็ง่าย เช่น  การขอหมั้น ขอแต่งงาน ทวงหนี้ กู้ยืม ร้องทุกข์ การทำการใดๆ เพื่อให้ผู้อื่นสงสารกรุณา เปิดร้านขายของชำ ของเก่าชำรุด สมัครงาน ทำการใดๆ ที่ริเริ่มใหม่

สรุปการใช้ฤกษนี้
     ฤกษ์นี้ใช้สำหรับ ขอผัดผ่อนหนี้ ขอหมั้น ขอแต่งงาน ขอทำงาน ขอสมัครงาน ขอร้อง สู่ขอ ขอคืนดี ขอรี่ไร ขอส่วนแบ่ง ขอกู้เงิน ยืมเงิน ขอผ่อนผัน ขอให้อุปการะ ขอให้ค้ำประกัน ขอซ่อม ขอร้อง ร้องขอ ขอความเป็นธรรม ขอร้องทุกข์ ขอความช่วยเหลือ สรุปคือบรรดาการขอ (ขอร้อง) ทุกอย่างให้ใช้ฤกษ์นี้
 
 2. มหัทธโนฤกษ์
ได้แก่ฤกษ์ที่ 2 , 11 และ 20 เรียกว่า มหัทธโนฤกษ์ แปลว่า คนมั่งมี ผู้รุ่งเรือง เศรษฐี มีพระจันทร์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น "บูรณะฤกษ์"

เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ 
การมงคลต่างๆ เช่น ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน ปลูกสร้างอาคาร ธุรกิจการเงิน การค้าอุตสาหกรรม เปิดห้างร้าน ลาสิกขาบท สะเดาะเคราะห์ และ สารพัดงานมงคล

สรุปการใช้ฤกษนี้
     เป็นการกระทำมั่นคงถาวร เช่น สร้างบ้านให้อยู่นานๆ เปิดร้าน เปิดบริษัท เอารถออกจากอู่ ถอยรถใหม่ เปลี่ยนชื่อ อุปสมบท ลาสิกขา และงานมงคลทั้งปวง

 
 3. โจโรฤกษ์
ได้แก่ฤกษ์ที่ 3 , 12 และ 21 เรียกว่า โจโรฤกษ์ แปลว่า โจร ผู้ปล้น ผู้ลักขโมย นักเลง ผู้ใช้กำลัง ผู้ทำลายล้าง ผู้กล้าหาญมีอำนาจ ผู้ว่องไว มีพระอังคารเป็นผู้รักษาฤกษ์ ฤกษ์บาททั้ง 4 ไม่รวมอยู่ในราศีเดียวกัน คาบเกี่ยวอยู่ 2 ราศีเป็น "ฉินทฤกษ์"  คือ ฤกษ์ขาดแตก โดยเฉพาะบาทแรกของต้นราศีนั้น เป็นฤกษ์บาทที่ร้ายแรงมากกว่าบาทอื่น เป็นนวางค์ที่ร้ายแรงมาก ไม่ควรให้ฤกษ์มงคล
เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ คนโบราณใช้ในการปล้นค่าย จู่โจมโดยฉับพลัน ข่มขวัญ บีบบังคับ ทำการปราบปราม การแข่งขันช่วงชิง การแย่งอำนาจและผลประโยชน์ งานเสี่ยงๆ ในระยะสั้นๆ การปฏิวัติ งานของบุคคลในเครื่องแบบแบใช้กำลัง

สรุปการใช้ฤกษนี้
     โจรจะไปปล้นบ้านใครให้ถือเอาฤกษ์นี้  ฤกษ์แหกคุก ฤกษ์หนีการจับกุม การเอาเปรียบคนอื่น จะไปจับผิดใครให้ใช้ฤกษ์นี้ การปรับทุจริต เป็นฤกษ์ฉกฉวย หรือเป็นการข่มคนอื่น ไปต่อสู้คดี ขึ้นโรงขึ้นศาล คือการทำเพื่อให้ชนะคนอื่น หรือแม้กระทั่งการเอาเปรียบคนอื่น ฤกษ์นี้ยังหมายถึง การท่องเที่ยว การผจญภัย การสอบชิงทุน การแข่งขัน การแข่งกีฬา การข่มขวัญศัตรู การปรับปรุงแก้ไข การปฏิวัติ รวมทั้งเอารถออกจากอู่ (จากการซ่อม) หรือออกจากโชว์รูม (ถอยรถใหม่) ฤกษ์นี้ไม่เหมาะในการลงทุน อาจทำให้ผิดหวังและถูกเบียดเบียนจากคนในเครื่องแบบ
 
 4. ภูมิปาโลฤกษ์
ได้แก่ฤกษ์ที่ 4 , 13 และ 22 เรียกว่า ภูมิปาโลฤกษ์ แปลว่า ผู้รักษาแผ่นดิน มีพระพุธเป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น บูรณะฤกษ์
เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การมงคลต่างๆ งานที่ต้องการความมั่นคงถาวร งานเกี่ยวกับที่ดิน การเกษตร การเช่าซื้อ ก่อสร้าง ปลูกเรือน ยกศาลพระภูมิ แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ ลาสิกขาบท เปิดอาคารห้างร้าน และ สารพัดงานมงคลทั้งปวง

สรุปการใช้ฤกษนี้
     ฤกษ์นี้ที่ใช้ในการทำให้มั่นคงระยะยาว ไม่ใช่ฤกษ์หวังผลในระยะสั้นๆ เช่น สร้างหอพัก สร้างบ้านจัดสรร เพื่อกินกำไรในระยะยาว ให้ความสมบูรณ์พูนสุข ความเจริญรุ่งเรืองที่ไม่หวังผลรวดเร็ว แต่หวังผลในระยะยาวคือนานๆ (มั่งคงถาวร) ฤกษ์นี้เหมาะสำหรับ ลงเสาเข็ม ตั้งศาลพระภูมิ ก่อสร้างวัตถุที่ถาวร หอพัก การพัฒนาการเกษตร เปิดร้าน เปิดโรงงานอุตสาหกรรม สัญญาซื้อขายที่หวังผลระยะยาว อะไรที่เจราที่หวังผลสำเร็จในระยะยาวและมั่นคงถาวร (ไม่ฉาบฉวย) ให้ใช้ฤกษ์นี้ และงานมงคลทั้งปวง

 
 5. เทศาตรีฤกษ์ 
ได้แก่ฤกษ์ที่ 5 , 14 และ 23 เรียกว่า เทศาตรีฤกษ์ แปลว่า ข้ามท้องถิ่น หญิงแพศยา ผู้ท่องเที่ยว บางคราเรียกว่า "เวสิโยฤกษ์"  หมายถึงฤกษ์พ่อค้า-แม่ค้า มีพระเสาร์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ปลายราศีหนึ่ง และ ต้นราศีหนึ่ง แห่งละ 2 บาทฤกษ์ คือคาบเกี่ยวอยู่ราศีละครึ่ง คือในราศี พฤษภกับเมถุน , กันย์กับตุลย์ และ มกรกับกุมภ์ เป็นฤกษ์อกแตก หรือ พินทุฤกษ์ หรือ ตินฤกษ์
เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ งานการติดต่อการค้าระหว่างถิ่น เกี่ยวกับความสนุกสนานชักชวนคนเข้าออกมาก เปิดโรงมหรสพ สถานเริงรมย์ ซ่องโสเภณี โรงแรม โรงหนัง ตลาดและศูนย์การค้า การประกอบอาชีพนอกสถานที่ อาชีพเร่ร่อน อาชีพที่ต้องย้ายที่อยู่เสมอ

สรุปการใช้ฤกษนี้
     เป็นฤกษ์ที่ชอบคนเยอะๆ เช่น คนมาเที่ยว รื่นเริง บันเทิง สนุกสนาน เช่น เปิดโรงแรม เปิดสรรพสินค้า เปิดอาบ อบ นวด เปิดสถานบันเทิง เงินแสดงคอนเสิร์ตของนักดนตรี เปิดบู๊ตแสดงสินค้า หรือกิจการที่ต้องการให้คนต่างประเทศมาเที่ยว รวมทั้งการทำอะไรที่สนุกสนาน รื่นเริง ฟุ่มเฟือย (บาร์ ไนต์คลับ โรงภาพยนตร์ ภัตตาคาร โรงแรม ตลาดสด ช๊อปปิ้งเซ็นเตอร์)

 
 6. เทวีฤกษ์ 
ได้แก่ฤกษ์ที่ 6 , 15 และ 24 เรียกว่า เทวีฤกษ์ แปลว่า นางพญา ความงามหรูหรา ความมีเสน่ห์ โชคลาภ และ การสมความปรารถนา มีพระพฤหัสฯ เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น บูรณะฤกษ์ เป็นฤกษ์ที่มุ่งให้เกิดโชคลาภ
เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ การหมั้นหมายและสมรส การส่งตัวเจ้าสาวและเข้าห้องหอ การทำกิจการที่ต้องการชื่อเสียงและมีเสน่ห์ งานมีเกียรติ งานเชิงศิลปะตกแต่งชั้นสูง เปิดร้านค้าอัญมณีเครื่องประดับ ร้านเสริมสวย ตัดเย็บเสื้อผ้า การประชาสัมพันธ์ ลาสิกขาบท ขึ้นบ้านใหม่ ขอความรัก งานเพื่อความสงบเรียบร้อย และ สารพัดงานมงคลทั้งปวง

สรุปการใช้ฤกษนี้
     ฤกษ์สู่ขอ หมั้น แต่งงาน ขอความช่วยเหลือจากสตรี (ผู้หญิง) ฤกษ์ที่ใช้ความโอ่อ่า หรูหรา สง่า งาม สวย รวมทั้งศิปละ ออกแบบ ตกแต่ง สวย หรู เช่น โชว์อัญมณี เครื่องประดับ ให้ใช้ฤกษ์นี้ 

 
 7. เพชฌฆาตฤกษ์
 ได้แก่ฤกษ์ที่ 7 , 16 และ 25 เรียกว่า เพชฌฆาตฤกษ์ แปลว่า ผู้ทำหน้าที่ฆ่า มีพระราหูเป็นผู้รักษาฤกษ์ ฤกษ์บาททั้ง 4 แตกขาดกัน และ ตรงข้ามกับ โจโรฤกษ์ เรียกว่า "ตรินิเอก"  คืออยู่ปลายราศี 3 ฤกษ์บาท และ ต้นราศี 1 ฤกษ์บาท ไม่ควรให้ฤกษ์ในการมงคลเลย เป็น ฉันทฤกษ์ (ฤกษ์แตกขาด)
เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การฟันผ่าอันตรายและอุปสรรค ต่อสู้เสี่ยงภัยต่างๆ อาสางานใหญ่ ทำกิจปราบปรามศัตรู ตัดสินคดีความ งานที่ใช้การตัดสินใจอย่างเด็ดขาด  ประกอบพิธีไสยศาสตร์ ปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ลงเลขยันต์ สร้างวัตถุมงคลแบบคงกระพันชาตรี สร้างสิ่งสาธารณะกุศลสงเคราะห์ เปิดโรงพยาบาล การรักษาโรคเรื้อรังที่หายยากๆ การยาตราทัพ เจิมอาวุธยุทธภัณฑ์ สร้างโบสถ์วิหารการเปรียญ คล้ายกับโจโรฤกษ์ แต่ฤกษ์นี้จะแรงกว่า

สรุปการใช้ฤกษนี้
     ฤกษ์แห่งความเด็ดขาด เผด็ดการ งานปราบปราม กำจัดศัตรู ทำพิธี ไสยศาสตร์ ฤกษ์ที่ต้องการใช้ความเด็ดขาด กล้าหาญ การตัดสินใจที่เด็ดขาด จะเลิกกับแฟนให้ใช้ฤกษ์นี้ได้ หรือสามีภรรยาจะหย่ากันให้ใช้ฤกษ์นี้ การผ่าตัด การปลูกเศกของขลัง ใช้ฤกษ์นี้ได้ ฤกษ์นี้สามารถใช้ในการเปลี่ยนชื่อได้ เพราะต้องการความมั่งคง หนักแน่น ไม่ต้องต้องเปลี่ยนแล้วเปลี่ยนอีก

 
 8. ราชาฤกษ์
ได้แก่ฤกษ์ที่ 8 , 17 และ 26 เรียกว่า ราชาฤกษ์ แปลว่าผู้ยิ่งใหญ่ ผู้มีอำนาจวาสนา พระเจ้าแผ่นดิน มีพระศุกร์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกัน เรียกว่า บูรณะฤกษ์ เป็นฤกษ์เฉพาะกิจการของผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้นำกิจการขึ้นไปจนถึงพระราชา 
เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ งานราชพิธี งานราชการงานเมือง สร้างที่ประทับ งานที่ต้องการชักจูงให้ผู้อื่นดำเนินตาม การเข้ารับตำแหน่งงาน การแสวงหาชื่อเสียงเกียรติยศ การเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ งานมงคลสมรสที่หรูหรามีเกียรติ ลาสิกขาบท การขึ้นบ้านใหม่(สามัญชนควรเว้น ถ้าหาฤกษ์ไม่ได้ก็พออนุโลมใช้ได้ เพื่อดวงชะตาและความเหมาะสม) และ งานมงคลทั้งปวง

สรุปการใช้ฤกษนี้
     ฤกษ์สูง ฤกษ์ใหญ่โต เป็นฤกษ์ของบุคคลชั้นสูง มีเกียรติ หรือว่างานนั้นมีผู้ใหญ่ เจ้านายมาร่วมทำพิธีด้วย ฤกษ์นี้ใช้ได้กับงานมงคลทั้งปวง

 
 9. สมโณฤกษ์
ได้แก่ฤกษ์ที่ 9 , 18 และ 27 เรียกว่า สมโณฤกษ์ แปลว่า (สงบเรียบร้อย นักบวช นักสอนศาสนา มีพระเกตุเป็นผู้รักษาฤกษ์ ฤกษ์บาททั้ง 4 อยู่ปลายราศีเดียวกัน แต่บาทฤกษ์สุดท้ายนี้เป็นนวางค์ขาดสุดราศีพอดี เรียกว่า "จัตตุรฤกษ์ หรือ ขันธฤกษ์"  จึงเป็นจุดที่มีผลเสียให้เกิดอันตรายต่างๆ ในการแข่งขัน ใช้ได้เฉพาะกิจเกี่ยวกับความสงบความสุจริต
เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ ทำพิธีกรรมทางศาสนา และ ทางนักบวช เช่น การทำขวัญนาค การอุปสมบท หล่อพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เข้ารับการศึกษา และ การกระทำทุกอย่างเพื่อความสงบร่มเย็นเป็นสุข สงเคราะห์ในฤกษ์นี้ได้ เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญต่ออายุ

สรุปการใช้ฤกษนี้
     ฤกษ์สงบ บวชพระ สึกพระ งานเกี่ยวกับศาสนา งานที่ไม่หวังผลรวดเร็ว ไม่มีการแข่งขัน ไม่มีการช่วงชิงกับผู้อื่น งานการกุศลทั้งปวง เช่น สร้างศาลาการเปรียญ หรือถาวรวัตถุ งานพุทธาภิเษก หล่อพระ ปฏิบัติธรรม เรียนธรรมะ เปิดสำนักโหรดูดวง เปิดห้องสมุด เปิดสถานที่สาธารณะ ทำบุญต่ออายุ ต่อชะตา ขึ้นบ้านใหม่ เปิดมูลนิธิ เผยแพร่ศาสนา งานการกุศลทั้งหลาย

Cr: 
มหาหมอดูดอทคอม

วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2561

วิธีบูชาพระเทวดาและสะเดาะพระเคราะห์ ตำราพรหมชาติฉบับสมบูรณ์

วิธีบูชาพระเทวดาและสะเดาะพระเคราะห์
ตำราพรหมชาติฉบับสมบูรณ์
โดย สำนักพิมพ์อำนาจสาส์น

วิธีบูชาพระเทวดาและสะเดาะพระเคราะห์

                กำลังแห่งเทวดาซึ่งเสวยอายุ ย่อมให้โทษให้คุณต่างกันตามวาระแห่งกำลังที่เสวย อายุตามกำลังแห่ง วัน เดือน ปี ที่พระเข้าเสวยอายุนั้นให้คุณผู้นั้น (เจ้าชะตา) ก็มีสุขเจริญได้ทรัพย์สินสิ่งของต่าง ๆ และปราศจากโรคภัยเบียดเบียน ถ้า วัน เดือน ปี ที่พระเสวยอายุนั้นให้โทษก็มี แต่ทุกข์เดือดร้อนเสียทรัพย์สิ่งของต่าง ๆ และโรคภัยไข้เจ็บก็เบียดเบียนด้วย ดังนั้น ท่านให้บูชาพระเคราะห์และสะเดาะพระเคราะห์ เพื่อบำบัดความชั่วร้าย และส่งเสริมคุณให้เด่นดีขึ้น แม้พระเคราะห์แทรก ซึ่งเข้าแทรกอายุก็เช่นกัน ท่านได้กล่าววิธีปฏิบัติไว้ ดังนี้

1.บูชาพระอาทิตย์

                เมื่อพระอาทิตย์เข้าเสวยอายุ ให้แต่งเครื่องบูชาพระพุทธรูป ถวายเนตร ทำฉัตรธง ให้เท่าอายุ ธูปเทียนข้าวตอก ดอกไม้ เมี่ยงหมาก แต่สิ่ง ๆ นั้น ให้เท่าอายุของผู้นั้น (เจ้าชะตา) เทียนแต่ละเล่ม ๆ เอาหนัก 1 บาท แต่ไส้เทียนดอกหนึ่ง ๆ นั้น เอาด้ายนับเส้น ซึ่งทำเป็นไส้ให้เท่าอายุ จึงแต่งมะกรูด ส้มป่อย แป้ง เสร็จแล้ว ตั้ง นะโม 3 จบ แล้วเสกมะกรูด ส้มป่อย ด้วยพระคาถาว่า
                อายนฺตุ โภนฺโต อิธ ทานสีลา เนกฺขมฺมปญฺญา สห วิริยขนฺติ
                สจฺจาธิฎฺฐานา เมตฺตุเปกฺขา ยุทฺธาย โว คณฺหถ อาวุธานิ
                ว่า 3 จบ จึงนมัสการด้วยพระคาถาว่า
                อิติปิโส ภควา ทสปารมี อิติปิโส ภควา ทสอุปปารมี อิติปิส ภควา ทสปรมตฺถปารมี อิติปิโส ภควา สมตึสปารมี
                ว่า 6 จบ ตามกำลังพระอาทิตย์เสวยอายุ จึงเอาน้ำในภาชะ ซึ่งแช่มะกรูด ส้มป่อย สรงพระแล้ว เอามาอาบคนไข้ สระหัวด้วยมะกรูด ส้มป่อย ที่รองพระไว้นั้นแล้วเอาแป้งหอมนำมันหอมทาตัว เอาราชวิติฉัตรธง และของเหล่านั้นที่ทำเท่าอายุบูชาพระเจ้าแล้ว ปิดทองพระถวายเนตรก็ได้ พระยืนกอดอก (พระรำพึง) ก็ได้เสร็จแล้วกรวดนำอุทิศส่วนกุศลไปถึงเทวดาอันเสวยอายุนั้น แล้วตั้งความปรารถนาเอาเถิด เสร็จปรารถนาแล้วให้ระลึกถึง คุณเทวดา ที่เสวยอายุและระลึกถึงคุณพระพุทธเจา พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า จงเป็นทีพึ่งแก่ข้าพเจ้าเถิด ขอให้ทุกข์โศกโรคภัยและอุบาทว์จัญไรทั้งหลายแล จงพินาศเถิด อีกนัยหนึ่งให้เอาธูปเทียน ขนมลูกไม้และข้าวตอก ดอกไม้แดง ใบไทรและใบราชพฤกษ์ สิ่งละ 6 บูชาพระถวายเนตร แล้วให้ภาวนาว่า
                อุเทตยญฺจกฺขุมา เอกราชา หริสฺสวณฺโณ ปฐวิปฺปภาโส ฯลฯ
                โมโร จรติ เอสนา
                วันละ 6 จบ ครบ 6 วัน เมื่อทำได้ดังนี้ ความชั่วร้ายก็จะบรรเทาเบาบาง ให้ว่าคาถาสะเดาะเคราะห์ ดังนี้
                ชยะ ชยะ อิติปิโส ภควา  ข้าพเจ้าจะขอไหว้พระอิศวรเป็นเจ้า ซึ่งเสด็จลงมาชุบพระอาทิตย์ราชสีห์
ทั้ง 6 ตัว จึงมาบังเกิดเป็นพระอาทิตย์ผู้มีฤทธิ์ ขี่ราชสีห์ทองท่องเที่ยวไปทั่วทิศาแล้ว ท่านจงเสด็จลงมายังเมืองอุตรกุรุทวีป อมรโคยานทวีป ปุพพวิเทหทวีป และชมพูทวีป แล้วท่านจึงเสด็จลงมาเสวยอายุแห่งข้าพเจ้าได้ 6 ปี
เวียนรอบในราศี เมษ พฤษภ เมถุน กรกฎ สิงห์ กันย์ ตุลย์ พฤศจิก ธนู มังกร กุมภ์ มีน ต้องลัคน์ ต้องจันทร์ ต้องพระเคราะห์ ตัวนอกตัวพระเคราะห์ ตัวใน ต้องพระเคราะห์ตัวใด ๆ ขอให้คุ้มโทษ คุ้มภัย คุ้มเสียดจัญไร ขอให้มีชัยมงคล คุ้มโทษโทสา ปารมีคุณสมฺปนฺโน อิติปิโส ภควา ภควา อรหํ ชยะ  ชยะ สมฺมา ขมา ชยะ  ชยะ
                ถ้าพระอาทิตย์เสวยอายุ เวียนรอบมาบรรจบ วัน เดือน ปี ที่ให้คุณยิ่งให้คุณเพิ่มขึ้นแล

2.บูชาพระจันทร์

                2.เมื่อพระจันทร์เข้าเสวยอายุ  ท่านให้แต่งเครื่องบูชาพระพุทธรูปห้ามญาติหรือปางห้ามสมุทร ทำฉัตรธงให้เท่าอายุ ธูปเทียน ดอกไม้ เมี่ยงหมากแต่สิ่ง ๆ นั้นให้เท่าอายุ ของผู้นั้น เทียนแต่ละเล่มเอาหนัก 1 บาท แต่ไส้เทียนดอกหนึ่งนั้นเอาไส้ (เส้นด้ายนับ) เท่าอายุ จึงแต่งมะกรูด ส้มป่อย แป้งน้ำมัน ตั้งไว้ตรงหน้าพระพุทธรูปนั้น
แล้วจุดธูปเทียน บูชาพระ ตั้งจิตให้ตรงกราบไหว้ พระเจ้า (พระพุทธรูป) เสร็จแล้วตั้งนโม 3 จบ เสกกระกรูด
ส้มป่อย ด้วยพระคาถาว่า
                อายนฺตุ โภนุโต อิธ ทานสีลา เนกฺขมฺม ปญฺญา สห วิริยขนฺติ สจฺจาธิฏฺฐนา เมตฺตุเปกขา ยุทฺธาย โว คณฺหถ อาวุธนานิ
                ว่า 3 จบ แล้วจึงนมัสการด้วยพระคาถาว่า
                อิติปิโส ภควา ทสปารมี อิติปิโส ภควา ทสอุปปารมี
อิติปิส ภควา ทสปรมตฺถปารมี อิติปิโส ภควา สมตึสปารมี
                ว่า 15 จบ ตามกำลังที่เสวยอายุ จึงเอาน้ำซึ่งแช่มะกรูด ส้มป่อย สรงพระแล้วเอามาอาบคนไข้ สระหัวด้วยมะกรูด ส้มป่อย ที่รองพระไว้นั้น แล้วเอาแป้งหอมทาตัว เอาราชวัติ ฉัตรธง และของเหล่านั้นที่ทำเท่าอายุนั้นบูชา พระเจ้าแล้วปิดทองพระรำพึงก็ได้ หรือนอนก็ได้ เสร็จแล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปถึงเทวดาผู้เสวยอายุนั้น แล้วตั้งความปรารถนาเอาเถิด และให้ระลึกถึงคุณเทวดาผู้เสวยอายุ และระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า จงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าเถิด ขอให้ทุกข์โศกโรคภัยและเสนียดจัญไรทั้งปวงพินาศแล
                อีกนัยหนึ่ง เอาธูปเทียน ดอกไม้ขาว และใบบัว สิ่งละ 15 บูชาพระห้ามพระสมุทรแล้วให้ภาวนาว่าดังนี้
                ยนูทุนฺนิมิตฺตํ อวมงฺคลญฺจ โย จามนาโป สกุณสฺส สทฺโท ปาปคฺคโห ทุสฺสุปินํ อกนฺตํ ฯลฯ
สงฺฆานุภาเวน วินาสเมนฺตุ
                สวดวันละ 15 จบ จนครบ 15 วันก็ได้ ทำดังนี้ ความชั่วร้ายจะบรรเทา ถ้ายังไม่บรรเทา ให้ว่าคาถาสะเดาะเคราะห์ต่อไปดังนี้
                ชยะ ชยะ ชยะ ชยะ  อิติปิโส ภควา  ข้าพเจ้าจะขอไหว้พระอิศวรเป็นเจ้า ซึ่งเสด็จลงมาชุบพระจันทร์ด้วยนาง 15 คน  จึงมาบังเกิดเป็นพระจันทร์ผู้มีฤทธิ์ ขี่ม้าท่องเที่ยวไปทั่วทิศาแล้ว ท่านจงเสด็จลงมายังเมืองอุตรกุรุทวีป อมรโคยานทวีป ปุพพวิเทหทวีป และชมพูทวีป แล้วท่านจึงเสด็จลงมาเสวยอายุแห่งข้าพเจ้าได้ 8 ปี
เวียนรอบในราศี เมษ พฤษภ เมถุน กรกฎ สิงห์ กันย์ ตุลย์ พฤศจิก ธนู มังกร กุมภ์ มีน ต้องลัคน์ ต้องจันทร์ ต้องพระเคราะห์ ตัวนอกตัวพระเคราะห์ ตัวใน ต้องพระเคราะห์ตัวใด ๆ ขอให้คุ้มโทษ คุ้มภัย คุ้มเสียดจัญไร ขอให้มีชัยมงคล คุ้มโทษโทสา ปารมีคุณ สมฺปนฺโน อิติปิโส ภควา ภควา อรหํ ชยะ  ชยะ สมฺมา ขมา ชยะ  ชยะ
                ถ้าพระจันทร์เสวยอายุ เวียนรอบมาบรรจบ วัน เดือน ปี ที่ให้คุณยิ่งให้คุณเพิ่มขึ้นแล

3.บูชาอังคาร

                เมื่อพระอังคารเข้าเสวยอายุ  ท่านให้แต่งเครื่องบูชาพระพุทธรูปไสยาสน์ ทำฉัตรธงให้เท่าอายุ ธูปเทียน ดอกไม้ เมี่ยงหมากแต่สิ่ง ๆ นั้นให้เท่าอายุ ของผู้นั้น เทียนแต่ละเล่มเอาหนัก 1 บาท แต่ไส้เทียนดอกหนึ่งนั้นเอาไส้ (เส้นด้ายนับ) เท่าอายุ จึงแต่งมะกรูด ส้มป่อย แป้งน้ำมัน ตั้งไว้ตรงหน้าพระพุทธรูปนั้น
แล้วจุดธูปเทียน บูชาพระ ตั้งจิตให้ตรงกราบไหว้ พระเจ้า (พระพุทธรูป) เสร็จแล้วตั้งนโม 3 จบ เสกกระกรูด
ส้มป่อย ด้วยพระคาถาว่า
                อายนฺตุ โภนุโต อิธ ทานสีลา เนกฺขมฺม ปญฺญา สห วิริยขนฺติ
สจฺจาธิฏฺฐนา เมตฺตุเปกขา ยุทฺธาย โว คณฺหถ อาวุธนานิ
                ว่า 3 จบ แล้วจึงนมัสการด้วยพระคาถาว่า
                อิติปิโส ภควา ทสปารมี อิติปิโส ภควา ทสอุปปารมี
อิติปิส ภควา ทสปรมตฺถปารมี อิติปิโส ภควา สมตึสปารมี
                ว่า 8 จบ ตามกำลังพระอังคารซึ่งเสวยอายุ จึงเอาน้ำซึ่งแช่มะกรูด ส้มป่อย สรงพระแล้วเอามาอาบคนไข้ สระหัวด้วยมะกรูด ส้มป่อย ที่รองพระไว้นั้น แล้วเอาแป้งหอมทาตัว เอาราชวัติ ฉัตรธง และของเหล่านั้นที่ทำเท่าอายุนั้นบูชา พระเจ้าแล้วปิดทองพระรำพึงก็ได้ หรือนอนก็ได้ เสร็จแล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปถึงเทวดาผู้เสวยอายุนั้น แล้วตั้งความปรารถนาเอาเถิด และให้ระลึกถึงคุณเทวดาผู้เสวยอายุ และระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า จงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าเถิด ขอให้ทุกข์โศกโรคภัยและเสนียดจัญไรทั้งปวงพินาศแล
                อีกนัยหนึ่ง เอาธูปเทียน ดอกไม้ ชมพู่และใบมะม่วง สิ่งละ 8 บูชาพระไสยาศน์ แล้วให้ภาวนาว่าดังนี้
                ยสุสานุภาวโต ยกฺขา เนว ทสฺเสนฺติ ภึสนํ ฯลฯ
                เอวมาทิคุณูเปตํ ปริตฺตนฺตมฺ ภณาม เห
                สวดวันละ 8 จบ จนครบ 8 วันก็ได้ ทำดังนี้ ความชั่วร้ายจะบรรเทา ถ้ายังไม่บรรเทา ให้ว่าคาถาสะเดาะเคราะห์ต่อไปดังนี้
                ชยะ ชยะ ชยะ ชยะ  อิติปิโส ภควา  ข้าพเจ้าจะขอไหว้พระอิศวรเป็นเจ้า ซึ่งเสด็จลงมาชุบพระอังคารด้วยกระบือ 8 ตัว  จึงมาบังเกิดเป็นพระอังคารผู้มีฤทธิ์ ขี่กระบือท่องเที่ยวไปทั่วทิศาแล้ว ท่านจงเสด็จลงมายังเมืองอุตรกุรุทวีป อมรโคยานทวีป ปุพพวิเทหทวีป และชมพูทวีป แล้วท่านจึงเสด็จลงมาเสวยอายุแห่งข้าพเจ้าได้ 8 ปี
เวียนรอบในราศี เมษ พฤษภ เมถุน กรกฎ สิงห์ กันย์ ตุลย์ พฤศจิก ธนู มังกร กุมภ์ มีน ต้องลัคน์ ต้องจันทร์ ต้องพระเคราะห์ ตัวนอกตัวพระเคราะห์ ตัวใน ต้องพระเคราะห์ตัวใด ๆ ขอให้คุ้มโทษ คุ้มภัย คุ้มเสียดจัญไร ขอให้มีชัยมงคล คุ้มโทษโทสา ปารมีคุณ สมฺปนฺโน อิติปิโส ภควา ภควา อรหํ ชยะ  ชยะ สมฺมา ขมา ชยะ  ชยะ
                ถ้าพระอังคารเสวยอายุ เวียนรอบมาบรรจบ วัน เดือน ปี ที่ให้คุณยิ่งให้คุณเพิ่มขึ้นแล

4.บูชาพระพุธ

                เมื่อพระพุธเข้าเสวยอายุ  ท่านให้แต่งเครื่องบูชาพระพุทธธูปอุ้มบาตร ธูปเทียน ดอกไม้ เมี่ยงหมากแต่สิ่ง ๆ นั้นให้เท่าอายุ ของผู้นั้น เทียนแต่ละเล่มเอาหนัก 1 บาท แต่ไส้เทียนดอกหนึ่งนั้นเอาไส้ (เส้นด้ายนับ) เท่าอายุ จึงแต่งมะกรูด ส้มป่อย แป้งน้ำมัน ตั้งไว้ตรงหน้าพระพุทธรูปนั้น
แล้วจุดธูปเทียน บูชาพระ ตั้งจิตให้ตรงกราบไหว้ พระเจ้า (พระพุทธรูป) เสร็จแล้วตั้งนโม 3 จบ เสกกระกรูด
ส้มป่อย ด้วยพระคาถาว่า
                อายนฺตุ โภนุโต อิธ ทานสีลา เนกฺขมฺม ปญฺญา สห วิริยขนฺติ
สจฺจาธิฏฺฐนา เมตฺตุเปกขา ยุทฺธาย โว คณฺหถ อาวุธนานิ
                ว่า 3 จบ แล้วจึงนมัสการด้วยพระคาถาว่า
                อิติปิโส ภควา ทสปารมี อิติปิโส ภควา ทสอุปปารมี
อิติปิส ภควา ทสปรมตฺถปารมี อิติปิโส ภควา สมตึสปารมี
                ว่า 17 จบ ตามกำลังเทวดา (พระพุธ) ซึ่งเสวยอายุ จึงเอาน้ำซึ่งแช่มะกรูด ส้มป่อย สรงพระแล้วเอามาอาบคนไข้ สระหัวด้วยมะกรูด ส้มป่อย ที่รองพระไว้นั้น แล้วเอาแป้งหอมทาตัว เอาราชวัติ ฉัตรธง และของเหล่านั้นที่ทำเท่าอายุนั้นบูชา พระเจ้าแล้วปิดทองอุ้มบาตรก็ได้ พระแก่นจันทร์ก็ได้  เสร็จแล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปถึงเทวดา(พระพุธ) ผู้เสวยอายุนั้น แล้วตั้งความปรารถนาเอาเถิด และให้ระลึกถึงคุณเทวดาผู้เสวยอายุ และระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า จงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าเถิด ขอให้ทุกข์โศกโรคภัยและเสนียดจัญไรทั้งปวงพินาศเถิด
                อีกนัยหนึ่ง เอาธูปเทียน ดอกไม้เขียว ใบขนุน สิ่งละ 17 บูชาพระอุ้มบาตร แล้วให้ภาวนาว่าดังนี้
                สพฺพาสีวิสชาตีนํ ทิพฺพมนฺตาคทํ วิย ฯลฯ
                  นโม สตฺตนฺนํ สมุนา  สมฺพุทฺธานนฺติ
                สวดวันละ 17 จบ จนครบ 17 วันก็ได้ ทำดังนี้ ความชั่วร้ายจะบรรเทา ถ้ายังไม่บรรเทา ให้ว่าคาถาสะเดาะเคราะห์ต่อไปดังนี้
                ชยะ ชยะ ชยะ ชยะ  อิติปิโส ภควา  ข้าพเจ้าจะขอไหว้พระอิศวรเป็นเจ้า ซึ่งเสด็จลงมาชุบพระพุธ เทวดาด้วย ช้างสาร 17 ตัว  จึงมาบังเกิดเป็นพระพุธผู้มีฤทธิ์ ขี่ช้างทองท่องเที่ยวไปทั่วทิศาแล้ว ท่านจงเสด็จลงมายังเมืองอุตรกุรุทวีป อมรโคยานทวีป ปุพพวิเทหทวีป และชมพูทวีป แล้วท่านจึงเสด็จลงมาเสวยอายุแห่งข้าพเจ้าได้ 17 ปี
เวียนรอบในราศี เมษ พฤษภ เมถุน กรกฎ สิงห์ กันย์ ตุลย์ พฤศจิก ธนู มังกร กุมภ์ มีน ต้องลัคน์ ต้องจันทร์ ต้องพระเคราะห์ ตัวนอกตัวพระเคราะห์ ตัวใน ต้องพระเคราะห์ตัวใด ๆ ขอให้คุ้มโทษ คุ้มภัย คุ้มเสียดจัญไร ขอให้มีชัยมงคล คุ้มโทษโทสา ปารมีคุณ สมฺปนฺโน อิติปิโส ภควา ภควา อรหํ ชยะ  ชยะ สมฺมา ขมา ชยะ  ชยะ
                ถ้าพระพุธเสวยอายุ เวียนรอบมาบรรจบ วัน เดือน ปี ที่ให้คุณยิ่งให้คุณเพิ่มขึ้นแล

5.บูชาพระเสาร์

เมื่อพระเสาร์เข้าเสวยอายุ  ท่านให้แต่งเครื่องบูชาพระพุทธธูปนาคปรก ทำฉัตรธงให้เท่าอายุ ธูปเทียน ดอกไม้ เมี่ยงหมากแต่สิ่ง ๆ นั้นให้เท่าอายุ ของผู้นั้น เทียนแต่ละเล่มเอาหนัก 1 บาท แต่ไส้เทียนดอกหนึ่งนั้นเอาไส้ (เส้นด้ายนับ) เท่าอายุ จึงแต่งมะกรูด ส้มป่อย แป้งน้ำมัน ตั้งไว้ตรงหน้าพระพุทธรูปนั้น
แล้วจุดธูปเทียน บูชาพระ ตั้งจิตให้ตรงกราบไหว้ พระเจ้า (คือพระพุทธรูปที่ตั้งบูชา) เสร็จแล้วตั้งนโม 3 จบ เสกกระกรูดส้มป่อย ด้วยพระคาถาว่า
                อายนฺตุ โภนุโต อิธ ทานสีลา เนกฺขมฺม ปญฺญา สห วิริยขนฺติ สจฺจาธิฏฺฐนา เมตฺตุเปกขา ยุทฺธาย โว คณฺหถ อาวุธนานิ
                ว่า 3 จบ แล้วจึงนมัสการด้วยพระคาถาว่า
                อิติปิโส ภควา ทสปารมี อิติปิโส ภควา ทสอุปปารมี
อิติปิส ภควา ทสปรมตฺถปารมี อิติปิโส ภควา สมตึสปารมี
                ว่า 10 เที่ยว  ตามกำลังเทวดา (พระเสาร์) ที่เสวยอายุ จึงเอาน้ำซึ่งแช่มะกรูด ส้มป่อย สรงพระแล้วเอามาอาบคนไข้ สระหัวด้วยมะกรูด ส้มป่อย ที่รองพระไว้นั้น แล้วเอาแป้งหอมทาตัว เอาราชวัติ ฉัตรธง และของเหล่านั้นที่ทำเท่าอายุนั้นบูชา พระเจ้าแล้วปิดทองพระนอน  เสร็จแล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้เทวดา (พระเสาร์) ที่เสวยอายุนั้น แล้วตั้งความปรารถนาเอาเถิด และให้ระลึกถึงคุณเทวดาผู้เสวยอายุ และระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า จงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าเถิด ขอให้ทุกข์โศกโรคภัยและเสนียดจัญไรทั้งปวงพินาศแล
                อีกนัยหนึ่ง เอาธูปเทียน ดอกไม้ดำ และใบมะตูม สิ่งละ 10 บูชาพระประธาน (พระนาคปรก) แล้วให้ภาวนาว่าดังนี้
                ยโตหํ ภคินิ อริยาย ชาติยา ชาโต ฯลฯ
                 เอเตน สจฺจวชฺเชน โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา
                สวดวันละ 10 จบ จนครบ 10 วันก็ได้ ทำดังนี้ ความชั่วร้ายจะบรรเทา ถ้ายังไม่บรรเทา ให้ว่าคาถาสะเดาะเคราะห์ต่อไปดังนี้
                ชยะ ชยะ อิติปิโส ภควา  ข้าพเจ้าจะขอไหว้พระอิศวรเป็นเจ้า ซึ่งเสด็จลงมาชุบพระเสาร์ เทวาด้วยหัวผีตายโหงสิบหัว   จึงมาบังเกิดเป็นพระเสาร์ ผู้มีฤทธิ์ ขี่เสือท่องเที่ยวไปทั่วทิศาแล้ว ท่านจงเสด็จลงมายังเมืองอุตรกุรุทวีป อมรโคยานทวีป ปุพพวิเทหทวีป และชมพูทวีป แล้วท่านจึงเสด็จลงมาเสวยอายุแห่งข้าพเจ้าได้ 10 ปี
เวียนรอบในราศี เมษ พฤษภ เมถุน กรกฎ สิงห์ กันย์ ตุลย์ พฤศจิก ธนู มังกร กุมภ์ มีน ต้องลัคน์ ต้องจันทร์ ต้องพระเคราะห์ ตัวนอกตัวพระเคราะห์ ตัวใน ต้องพระเคราะห์ตัวใด ๆ ขอให้คุ้มโทษ คุ้มภัย คุ้มเสียดจัญไร ขอให้มีชัยมงคล คุ้มโทษโทสา ปารมีคุณ สมฺปนฺโน อิติปิโส ภควา ภควา อรหํ ชยะ  ชยะ สมฺมา ขมา ชยะ  ชยะ
                ถ้าพระเสาร์ เสวยอายุ เวียนรอบมาบรรจบ วัน เดือน ปี ที่ให้คุณยิ่งให้คุณเพิ่มขึ้นแล

6.บูชาพระพฤหัสบดี

                6.เมื่อพระพฤหัสบเข้าเสวยอายุ  ท่านให้แต่งเครื่องบูชาพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ ทำฉัตรธงให้เท่าอายุ ธูปเทียน ดอกไม้ เมี่ยงหมากแต่สิ่ง ๆ นั้นให้เท่าอายุ ของผู้นั้น เทียนแต่ละเล่มเอาหนัก 1 บาท แต่ไส้เทียนดอกหนึ่งนั้นเอาไส้ (เส้นด้ายนับ) เท่าอายุ จึงแต่งมะกรูด ส้มป่อย แป้งน้ำมัน ตั้งไว้ตรงหน้าพระพุทธรูปนั้น
แล้วจุดธูปเทียน บูชาพระ ตั้งจิตให้ตรงกราบไหว้ พระเจ้า (พระพุทธรูปที่ตั้งบูชา) เสร็จแล้วตั้งนโม 3 จบ เสกกระกรูดส้มป่อย ด้วยพระคาถาว่า
                อายนฺตุ โภนุโต อิธ ทานสีลา เนกฺขมฺม ปญฺญา สห วิริยขนฺติ สจฺจาธิฏฺฐนา เมตฺตุเปกขา ยุทฺธาย              โว คณฺหถ อาวุธนานิ
                ว่า 3 จบ แล้วจึงนมัสการด้วยพระคาถาว่า
                อิติปิโส ภควา ทสปารมี อิติปิโส ภควา ทสอุปปารมี
อิติปิส ภควา ทสปรมตฺถปารมี อิติปิโส ภควา สมตึสปารมี
                ว่า 19 จบ ตามกำลังเทวดา (พระพฤหัส) ที่เสวยอายุ จึงเอาน้ำซึ่งแช่มะกรูด ส้มป่อย สรงพระแล้วเอามาอาบคนไข้ สระหัวด้วยมะกรูด ส้มป่อย ที่รองพระไว้นั้น แล้วเอาแป้งหอมทาตัว เอาราชวัติ ฉัตรธง และของเหล่านั้นที่ทำเท่าอายุนั้นบูชา พระเจ้าแล้วปิดทองพระนั่งสมาธิก็ได้ พระทรงเครื่องก็ได้เสร็แล้ว อุทิศส่วนกุศลไปถึงเทวดาผู้เสวยอายุนั้น แล้วตั้งความปรารถนาเอาเถิด และให้ระลึกถึงคุณเทวดาผู้เสวยอายุ และระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า จงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าเถิด ขอให้ทุกข์โศกโรคภัยและเสนียดจัญไรทั้งปวงพินาศแล
                อีกนัยหนึ่ง เอาธูปเทียน ดอกไม้สีเมฆ ใบกล้วย สิ่งละ 19 บูชาพระทรงเครื่อง (นั่งขัดสมาธิ) แล้วให้ภาวนาว่าดังนี้
                ปูเรนฺตมฺโพธิสมฺภาเร นิพฺพตฺตํ โมรโยนิยํ ฯลฯ
   พฺรหฺมมนฺตนฺติ อกฺขาตํ ปริตฺ ตนฺตมฺภณาม เห
                สวดวันละ 19 จบ จนครบ 19 วันก็ได้ ทำดังนี้ ความชั่วร้ายจะบรรเทา ถ้ายังไม่บรรเทา ให้ว่าคาถาสะเดาะเคราะห์ต่อไปดังนี้

                ชยะ ชยะ อิติปิโส ภควา  ข้าพเจ้าจะขอไหว้พระอิศวรเป็นเจ้า ซึ่งเสด็จลงมาชุบพรพฤหัสเทวาด้วยพราหมณ์ราชครูสิบเก้าตน จึงมาบังเกิดเป็นพระพฤหัสผู้มีฤทธิ์ ขี่กวาง ท่องเที่ยวไปทั่วทิศาแล้ว ท่านจงเสด็จลงมายังเมืองอุตรกุรุทวีป อมรโคยานทวีป ปุพพวิเทหทวีป และชมพูทวีป แล้วท่านจึงเสด็จลงมาเสวยอายุแห่งข้าพเจ้าได้ 19 ปีเวียนรอบในราศี เมษ พฤษภ เมถุน กรกฎ สิงห์ กันย์ ตุลย์ พฤศจิก ธนู มังกร กุมภ์ มีน ต้องลัคน์ ต้องจันทร์ ต้องพระเคราะห์ ตัวนอกตัวพระเคราะห์ ตัวใน ต้องพระเคราะห์ตัวใด ๆ ขอให้คุ้มโทษ คุ้มภัย คุ้มเสียดจัญไร ขอให้มีชัยมงคล คุ้มโทษโทสา ปารมีคุณ สมฺปนฺโน อิติปิโส ภควา ภควา อรหํ ชยะ  ชยะ สมฺมา ขมา ชยะ  ชยะ
                ถ้าพระพฤหัสบดี เสวยอายุ เวียนรอบมาบรรจบ วัน เดือน ปี ที่ให้คุณยิ่งให้คุณเพิ่มขึ้นแล

7.บูชาพระราหู

                เมื่อพระราหู เข้าเสวยอายุ  ท่านให้แต่งเครื่องบูชาพระพุทธรูปปางป่าเลไลย์ หรือปางพระมารวิชัย  ทำฉัตรธงให้เท่าอายุ ธูปเทียน ดอกไม้ เมี่ยงหมากแต่สิ่ง ๆ นั้นให้เท่าอายุ ของผู้นั้น เทียนแต่ละเล่มเอาหนัก 1 บาท แต่ไส้เทียนดอกหนึ่งนั้นเอาไส้ (เส้นด้ายนับ) เท่าอายุ จึงแต่งมะกรูด ส้มป่อย แป้งน้ำมัน ตั้งไว้ตรงหน้าพระพุทธรูปนั้นแล้วจุดธูปเทียน บูชาพระ ตั้งจิตให้ตรงกราบไหว้ พระเจ้า (พระพุทธรูป) เสร็จแล้วตั้งนโม 3 จบ เสกกระกรูด
ส้มป่อย ด้วยพระคาถาว่า
                อายนฺตุ โภนุโต อิธ ทานสีลา เนกฺขมฺม ปญฺญา สห วิริยขนฺติ สจฺจาธิฏฺฐนา เมตฺตุเปกขา ยุทฺธาย โว คณฺหถ อาวุธนานิ
                ว่า 3 จบ แล้วจึงนมัสการด้วยพระคาถาว่า
                อิติปิโส ภควา ทสปารมี อิติปิโส ภควา ทสอุปปารมี
อิติปิส ภควา ทสปรมตฺถปารมี อิติปิโส ภควา สมตึสปารมี
                ว่า 12 จบ ตามกำลังพระราหู ที่เสวยอายุ จึงเอาน้ำซึ่งแช่มะกรูด ส้มป่อย สรงพระแล้วเอามาอาบคนไข้ สระหัวด้วยมะกรูด ส้มป่อย ที่รองพระไว้นั้น แล้วเอาแป้งหอมทาตัว เอาราชวัติ ฉัตรธง และของเหล่านั้นที่ทำเท่าอายุนั้นบูชา พระเจ้า(พระพุทธรูปที่ตั้งบูชา) แล้วปิดทองพระป่าเลไลย์ก็ได้ เสร็จแล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปถึงเทวดาผู้เสวยอายุนั้น แล้วตั้งความปรารถนาเอาเถิด และให้ระลึกถึงคุณเทวดาผู้เสวยอายุ และระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า จงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าเถิด ขอให้ทุกข์โศกโรคภัยและเสนียดจัญไรทั้งปวงพินาศแล
                อีกนัยหนึ่ง เอาธูปเทียน ดอกไม้ดำ และใบยอ  สิ่งละ 12 บูชาพระห้ามพระสมุทรแล้วให้ภาวนาว่าดังนี้
                ยสฺสานุสฺสรเณนาปิ อนฺตลิกฺเขปิ ปาณิโน ฯลฯ
  ยกฺขโจราทิสมฺภวาคณนา น จ มุตฺตานํ ปริตฺตนฺตมฺภณาม เห
                สวดวันละ 12 จบ จนครบ 12 วันก็ได้ ทำดังนี้ ความชั่วร้ายจะบรรเทา ถ้ายังไม่บรรเทา ให้ว่าคาถาสะเดาะเคราะห์ต่อไปดังนี้
                ชยะ ชยะ อิติปิโส ภควา  ข้าพเจ้าจะขอไหว้พระอิศวรเป็นเจ้า ซึ่งเสด็จลงมาชุบพระราหู ด้วยหัวผีโขมดสิสองหัว   จึงมาบังเกิดเป็นพระราหูผู้มีฤทธิ์ ขี่ยักษ์ท่องเที่ยวไปทั่วทิศาแล้ว ท่านจงเสด็จลงมายังเมืองอุตรกุรุทวีป อมรโคยานทวีป ปุพพวิเทหทวีป และชมพูทวีป แล้วท่านจึงเสด็จลงมาเสวยอายุแห่งข้าพเจ้าได้ 12 ปี
เวียนรอบในราศี เมษ พฤษภ เมถุน กรกฎ สิงห์ กันย์ ตุลย์ พฤศจิก ธนู มังกร กุมภ์ มีน ต้องลัคน์ ต้องจันทร์ ต้องพระเคราะห์ ตัวนอกตัวพระเคราะห์ ตัวใน ต้องพระเคราะห์ตัวใด ๆ ขอให้คุ้มโทษ คุ้มภัย คุ้มเสียดจัญไร ขอให้มีชัยมงคล คุ้มโทษโทสา ปารมีคุณ สัมปันโน อิติปิโส ภควา ภควา อรหํ ชยะ  ชยะ สมฺมา ขมา ชยะ  ชยะ
                ถ้าพระราหูเสวยอายุ เวียนรอบมาบรรจบ วัน เดือน ปี ที่ให้คุณยิ่งให้คุณเพิ่มขึ้นแล

8.บูชาพระศุกร์

                เมื่อพระศุกร์ เข้าเสวยอายุ  ท่านให้แต่งเครื่องบูชาพระพุทธรูปรำพึง  ทำฉัตรธงให้เท่าอายุ ธูปเทียน ดอกไม้ เมี่ยงหมากแต่สิ่ง ๆ นั้นให้เท่าอายุ ของผู้นั้น เทียนแต่ละเล่มเอาหนัก 1 บาท แต่ไส้เทียนดอกหนึ่งนั้นเอาไส้ (เส้นด้ายนับ) เท่าอายุ จึงแต่งมะกรูด ส้มป่อย แป้งน้ำมัน ตั้งไว้ตรงหน้าพระพุทธรูปนั้น
แล้วจุดธูปเทียน บูชาพระ ตั้งจิตให้ตรงกราบไหว้ พระเจ้า (พระพุทธรูป) เสร็จแล้วตั้งนโม 3 จบ เสกกระกรูด
ส้มป่อย ด้วยพระคาถาว่า
                อายนฺตุ โภนุโต อิธ ทานสีลา เนกฺขมฺม ปญฺญา สห วิริยขนฺติ
  สจฺจาธิฏฺฐนา เมตฺตุเปกขา ยุทฺธาย โว คณฺหถ อาวุธนานิ
                ว่า 3 จบ แล้วจึงนมัสการด้วยพระคาถาว่า
                อิติปิโส ภควา ทสปารมี อิติปิโส ภควา ทสอุปปารมี
อิติปิส ภควา ทสปรมตฺถปารมี อิติปิโส ภควา สมตึสปารมี
                ว่า 12 จบ ตามกำลังเทวดา (พระศุกร์) ที่เสวยอายุ จึงเอาน้ำซึ่งแช่มะกรูด ส้มป่อย สรงพระแล้วเอามาอาบคนไข้ สระหัวด้วยมะกรูด ส้มป่อย ที่รองพระไว้นั้น แล้วเอาแป้งหอมทาตัว เอาราชวัติ ฉัตรธง และของเหล่านั้นที่ทำเท่าอายุนั้นบูชา พระเจ้า (พระพุทธรูปที่ตั้งบูชา) แล้วปิดทองพระนาคปรกก็ได้ พระป่าเลไลย์ก็ได้  เสร็จแล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปถึงเทวดาผู้เสวยอายุนั้น แล้วตั้งความปรารถนาเอาเถิด และให้ระลึกถึงคุณเทวดาผู้เสวยอายุ และระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า จงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าเถิด ขอให้ทุกข์โศกโรคภัยและเสนียดจัญไรทั้งปวงพินาศแล
                อีกนัยหนึ่ง เอาธูปเทียน ดอกไม้ขาว และใบบัว สิ่งละ 21 บูชาพระรำพึง แล้วให้ภาวนาว่าดังนี้
                อปฺปสนฺเนหิ นาคสฺส สาสเน สาธุ สมฺมเต ฯลฯ
  ยนฺเทเสสิ มหาวีโร ปริตฺตนฺ ตมฺภณาม เห
                สวดวันละ 21 จบ จนครบ 21 วันก็ได้ ทำดังนี้ ความชั่วร้ายจะบรรเทา ถ้ายังไม่บรรเทา ให้ว่าคาถาสะเดาะเคราะห์ต่อไปดังนี้
                ชยะ ชยะ อิติปิโส ภควา  ข้าพเจ้าจะขอไหว้พระอิศวรเป็นเจ้า ซึ่งเสด็จลงมาชุบพระจันพระศุกร์เทวาด้วยโคอุสุภราชยี่สิบเอ็ดตัว จึงมาบังเกิดเป็นพระศุกร์ ผู้มีฤทธิ์ ขี่โคทอง ท่องเที่ยวไปทั่วทิศาแล้ว ท่านจงเสด็จลงมายังเมืองอุตรกุรุทวีป อมรโคยานทวีป ปุพพวิเทหทวีป และชมพูทวีป แล้วท่านจึงเสด็จลงมาเสวยอายุแห่งข้าพเจ้าได้ 21 ปีเวียนรอบในราศี เมษ พฤษภ เมถุน กรกฎ สิงห์ กันย์ ตุลย์ พฤศจิก ธนู มังกร กุมภ์ มีน ต้องลัคน์ ต้องจันทร์ ต้องพระเคราะห์ ตัวนอกตัวพระเคราะห์ ตัวใน ต้องพระเคราะห์ตัวใด ๆ ขอให้คุ้มโทษ คุ้มภัย คุ้มเสียดจัญไร ขอให้มีชัยมงคล คุ้มโทษโทสา ปารมีคุณ สัมปันโน อิติปิโส ภควา ภควา อรหํ ชยะ  ชยะ สมฺมา ขมา ชยะ  ชยะ
                ถ้าพระศุกร์ เสวยอายุ เวียนรอบมาบรรจบ วัน เดือน ปี ที่ให้คุณยิ่งให้คุณเพิ่มขึ้นแล

9.บูชาพระเกตุ

                เมื่อพระเกตุ เข้าเสวยอายุ  ท่านให้แต่งเครื่องบูชาพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้  ทำฉัตรธงให้เท่าอายุ ธูปเทียน ดอกไม้ เมี่ยงหมากแต่สิ่ง ๆ นั้นให้เท่าอายุ ของผู้นั้น เทียนแต่ละเล่มเอาหนัก 1 บาท แต่ไส้เทียนดอกหนึ่งนั้นเอาไส้ (เส้นด้ายนับ) เท่าอายุ จึงแต่งมะกรูด ส้มป่อย แป้งน้ำมัน ตั้งไว้ตรงหน้าพระพุทธรูปนั้น
แล้วจุดธูปเทียน บูชาพระ ตั้งจิตให้ตรงกราบไหว้ พระเจ้า (พระพุทธรูป) เสร็จแล้วตั้งนโม 3 จบ เสกกระกรูด
ส้มป่อย ด้วยพระคาถาว่า
                อายนฺตุ โภนุโต อิธ ทานสีลา เนกฺขมฺม ปญฺญา สห วิริยขนฺติ สจฺจาธิฏฺฐนา เมตฺตุเปกขา ยุทฺธาย โว คณฺหถ อาวุธนานิ
                ว่า 3 จบ แล้วจึงนมัสการด้วยพระคาถาว่า
                อิติปิโส ภควา ทสปารมี อิติปิโส ภควา ทสอุปปารมี
อิติปิส ภควา ทสปรมตฺถปารมี อิติปิโส ภควา สมตึสปารมี
                ว่า 9 เที่ยว  ตามกำลังเทวดา (พระเกตุ) ที่เสวยอายุ จึงเอาน้ำซึ่งแช่มะกรูด ส้มป่อย สรงพระแล้วเอามาอาบคนไข้ สระหัวด้วยมะกรูด ส้มป่อย ที่รองพระไว้นั้น แล้วเอาแป้งหอมทาตัว เอาราชวัติ ฉัตรธง และของเหล่านั้นที่ทำเท่าอายุนั้นบูชา พระเจ้าแล้วปิดทองพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่ง (พระเกตุอยู่นอกพระเคราะห์ทั้งแปด)  เสร็จแล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปถึงเทวดา (พระเกตุ) ผู้เสวยอายุนั้น แล้วตั้งความปรารถนาเอาเถิด และให้ระลึกถึงคุณเทวดาผู้เสวยอายุ และระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า จงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าเถิด ขอให้ทุกข์โศกโรคภัยและเสนียดจัญไรทั้งปวงพินาศแล
                อีกนัยหนึ่ง เอาธูปเทียน ดอกไม้สีทอง และใบทอง (หรือใบไม้อื่น ซึ่งมีสีเหลืองก็ได้ ) สิ่งละ 9 บูชาพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่ง แล้วให้ภาวนาว่าดังนี้
                กินฺนุ สนฺตรมาโนว ฯลฯ ไปจนจบ
                สวดวันละ 9 จบ จนครบ 15 วันก็ได้ ทำดังนี้ ความชั่วร้ายจะบรรเทา ถ้ายังไม่บรรเทา ให้ว่าคาถาสะเดาะเคราะห์ต่อไปดังนี้
                ชยะ ชยะ อิติปิโส ภควา  ข้าพเจ้าจะขอไหว้พระอิศวรเป็นเจ้า ซึ่งเสด็จลงมาชุบพระเกตุเทวาด้วยนาค 9 ตัว จึงมาบังเกิดเป็นพระเกตุ ผู้มีฤทธิ์ ขี่นาคทอง ท่องเที่ยวไปทั่วทิศาแล้ว ท่านจงเสด็จลงมายังเมืองอุตรกุรุทวีป อมรโคยานทวีป ปุพพวิเทหทวีป และชมพูทวีป แล้วท่านจึงเสด็จลงมาเสวยอายุแห่งข้าพเจ้าได้ 9 ปี
เวียนรอบในราศี เมษ พฤษภ เมถุน กรกฎ สิงห์ กันย์ ตุลย์ พฤศจิก ธนู มังกร กุมภ์ มีน ต้องลัคน์ ต้องจันทร์ ต้องพระเคราะห์ ตัวนอกตัวพระเคราะห์ ตัวใน ต้องพระเคราะห์ตัวใด ๆ ขอให้คุ้มโทษ คุ้มภัย คุ้มเสียดจัญไร ขอให้มีชัยมงคล คุ้มโทษโทสา ปารมีคุณ สัมปันโน อิติปิโส ภควา ภควา อรหํ ชยะ  ชยะ สมฺมา ขมา ชยะ  ชยะ
                ถ้าพระเกตุเสวยอายุ เวียนรอบมาบรรจบ วัน เดือน ปี ที่ให้คุณยิ่งให้คุณเพิ่มขึ้นแล

                หมายเหตุ คำว่า แล้วท่านจึงเสด็จมาเสวยอายุ แห่งข้าพาเจ้าได้ .....ปี ในคาถาสะเดาะพระเคราะห์ทุก ๆ แห่งถ้าเป็นหมอทำให้แก่ผู้ใดต้องใส่ชื่อผู้นั้นแทน แห่งข้าพเจ้า เป็นแห่งนาย...หรือนาง..... ตามเพศ ถ้าใส่
นามสกุลเขาด้วยก็ยิ่งดี

Cr. http://horoscope.dooasia.com/phommachat/phommachath017c003.shtml

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2561

วาสนา ต้นไม้มงคล

ผลจากการเรียกชื่อมั่วของคนขายนี่แหละ ทำให้การสื่อสารในเรื่องชื่อต้นไม้ในปัจจุบันมันยุ่งเหยิงปนเปกันไปหมดแล้ว จะแยกให้เห็นความแตกต่างของวาสนาแต่ละต้นตามชื่อดั้งเดิมนะครับ

     1) วาสนาที่พบเห็นปลูกกันอยู่ทั่วๆ ไปยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ต้นที่เขียวหมดทั้งใบอ่อนและใบแก่เดิมเค้าเรียกว่า วาสนามังกรหยก  กับต้นที่ใบอ่อนจะมีแถบสีเหลืองพาดอยู่ตามความยาวของใบแต่พอใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวทั้งหมดเค้าเรียก วาสนาอธิษฐาน

     2) วาสนาที่มีแถบสีเหลืองอยู่ริมใบทั้งสองด้าน และแถบสีเหลืองนี้จะคงอยู่ตลอดไป ยังแยกออกเป็น 2 ชนิดอีกเช่นกันคือ ต้นที่ใบแข็งสั้นใบไม่ย้อยลงมาริมใบเป็นริ้วเค้าเรียก วาสนาสะพายทอง  กับต้นที่ใบยาวห้อยย้อยริมใบเป็นริ้วคือ วาสนามังกรทอง
     ปัจจุบันมีออกมาใหม่ คือต้นด่างริมใบแต่เป็นแถบสีขาว ซึ่งก็มีทั้งใบสั้น และใบยาวอีกเช่นกัน

     3) วาสนาด่าง  แถบที่ด่างเป็นสีเหลืองแบบข้อ 2 แต่แถบจะไม่คงที่คือ แถบเล็กบ้างใหญ่บ้าง อยู่ริมใบบ้างกลางใบบ้าง
     ปัจจุบันมีด่างตัวใหม่ คือมีสีเหลืองทองตลอดทั้งใบ และสีจะจางลงเมื่อใบเริ่มแก่แต่ไม่ได้หายไปเลย
     
     4) มีวาสนาที่มีขนาดต้นและใบเล็กกว่าข้อ 1-3 และมีแถบด่างอยู่ริมใบทั้งสองด้าน มี 2 ชนิดคือ ถ้าริมด่างเป็นสีเหลืองเดิมชื่อ วาสนาประกายทอง  ปัจจุบันมักเรียกเป็นวาสนาราชินีสีทอง กับต้นที่ริมใบด่างเป็นสีขาวเดิมชื่อ วาสนาประกายเงิน  ปัจจุบันมักเรียกเป็นวาสนาราชินีสีเงิน

     5) วาสนาราชินี  (Queen of dracaenas) ต้นที่แท้จริงนั้นปัจจุบันแทบหาไม่ได้แล้ว ใบมีลายขาวเป็นแถบ แต่เป็นแถบพาดตามขวางครับ


วาสนามังกรหยก



วาสนาอธิษฐาน


วาสนาสะพายทอง


วาสนามังกรทอง


ตัวใหม่ด่างขาว


วาสนาด่าง


ด่างตัวใหม่สีเหลืองทองทั้งใบ


วาสนาประกายทอง


วาสนาประกายเงิน


วาสนาราชินี (ตัวจริง)


ปล. ข้อมูลอ้างอิง หนังสือสารานุกรมไม้ประดับในประเทศไทย กองบรรณาธิการบ้านและสวน พิมพ์ครั้งที่ 1 เล่ม 1-3 พ.ศ. 2525